เสียงในภาษา
เสียง หมายถึง เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมายระหว่างมนุษย์ เสียงที่ใช้สื่อความหมายในภาษาไทยจำแนกเป็น 3 ประเภท คือ เสียงสระ(เสียงแท้) เสียงพยัญชนะ(เสียงแปร) เสียงวรรณยุกต์(เสียงดนตรี)
1. เสียงสระ คือเสียงที่เปล่งออกมาโดยตรงจากปอด ไม่ถูกอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งกักไว้ในช่องปาก เสียงสระในภาษาไทย มี 21 รูป 32 เสียง หากแบ่งตามตำราไทยแต่เดิมจะแบ่งสระออกเป็น 3 ชนิด ดังนี้
1.1 สระเดี่ยว(สระแท้)มี18 เสียงคือ อะ อา อิ อี อึ อื อุ อู เอะ เอ แอะ แอ โอะ โอ เอาะ ออ เออะ เออ
1.2 สระประสม(สระประสม) มี 6 เสียง คือ เอียะ เอีย อัวะ อัว เอือะ เอือ (ปัจจุบัน นับเป็น 3 พยางค์ ได้แก่ เอีย อัว เอือ)
1.3 สระเกิน (ปัจจุบันไม่นับเป็นสระเนื่องจากมีเสียงพยัญชนะต้น(ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ) และมีเสียงตัวสะกด(อำ ไอ ใอ เอา)
วิธีการใช้สระ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
2. สระลดรูป คือคำที่ไม่ปรากฏรูปสระ
2.1 สระอะ ลดรูป คือไม่ประวิสรรชนีย์(อะ) ในพยางค์ที่ออกเสียง อะ เช่น ธ ณ ฉลาด
2.3 สระเอาะ ลดรูป คือตัดรูปเดิมออก ใช้ตัว อ กับไม้ไต่คู้ เช่น ล็อก(ล+เอาะ+ก)
2.4 สระออ ลดรูป คือตัดตัว อ ออกแต่ยังอ่านออกเสียงเหมือนมี อ อยู่ด้วย เช่น บ กร
2.5 สระเออ ลดรูป คือตัดตัว อ ออกในพยางค์ที่มีตัวสะกดในแม่เกย เช่น เขย(ข+เออ+ย)
2.6 สระอัว ลดรูป คือ ตัดไม้หันอากาศใช้ ว ตัวเดียวในพยางค์ที่มีตัวสะกด เช่น กวด
3. สระเปลี่ยนรูป คือเปลี่ยนรูปไปเป็นอย่างอื่น
3.1 สระ อะ เช่น กัน วัย จัด รัก วรรณ อรรถ กรรม ธรรม
3.2 สระ เอะ แอะ เช่น เช่น เห็น(ห+เอะ+น) เก็บ(ก+เอะ+บ)
3.3 สระ เออ เช่น เดิน (ด+เออ+น) เพลิน (พล+เออ+น) เติบ(ต+เออ+บ)
2. เสียงพยัญชนะ คือเสียงที่เปล่งออกมาแล้วถูกสกัดกั้นโดยอวัยวะส่วนหนึ่งทำให้เสียงต่างกันออกไปตามอวัยวะที่มาสกัดกั้น เสียงพยัญชนะในภาษาไทยมี 44 รูป 21 เสียง และสามารถจำแนกตามวิธีใช้ได้ 3 ประเภท ดังนี้
2.1 พยัญชนะกลาง คือพยัญชนะที่ใช้โดยทั่วไปทั้งภาษาไทย บาลี สันสกฤต มี 21 รูป คือ ก ข ค ง จ ฉ ช ต ถ ท น ป ผ พ ม ย ร ล ว ส ห
2.2 พยัญชนะเดิม คือพยัญชนะที่ติดมากับแบบเดิมมีใช้กันในภาษาบาลีสันสกฤตโดยมากมี 13 รูป คือ ฆ ฌ ญ ฎ ฐ ฑ ฒ ณ ธ ภ ฬ ศ ษ
2.3 พยัญชนะเติม คือพยัญชนะที่ไทยคิดเพิ่มเติมขึ้นภายหลัง มี 10 รูป ข ฅ ซ ฏ ด บ ฝ ฟ อ ฮ
## หมายเหตุ รูปพยัญชนะ 44 รูป เป็นพยัญชนะต้นได้ 42 รูป พยัญชนะที่ไม่ใช้คือ ฃ ฅ พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดไม่ได้ คือ ฃ ฅ ฉ ผ ผ ฌ ห อ ฮ ##
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น